ค่า SPF คืออะไร
- ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดจะระบุค่า SPF (Sun Protection Factor) หรือ ค่าการป้องกันแสงแดด
- เช่น ถ้าเคยตากแดดแล้วผิวไหม้แดง ในเวลา 15 นาที (ค่านี้เป็นค่าเฉพาะบุคคล) SPF= 30 จะทำให้ผิวจะไหม้ช้าลงเป็นเวลา 30 เท่า คือ 7.5 ชั่วโมง (30×15=450 นาที)
- ” อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีคำนิยามใหม่ของค่า SPF (Sun Protection Factor) โดยใช้สูตรสำหรับหาค่า SPF คือ
- SPF = MED บริเวณที่ทายากันแดด / MED บริเวณที่ไม่ได้ทายากันแดด
- โดย MED นั้นย่อมาจาก minimal erythematous dose คือ ปริมาณแสงแดดที่น้อยที่สุด ที่ทำให้เกิดอาการแดงที่ผิวหนัง ซึ่งอาการแดงนั้นเป็นจุดที่สังเกตเห็นด้วยตา มีการศึกษาพบว่า ปริมาณแรงที่เป็น suberythemal dose (คือปริมาณแสงที่ยังน้อยกว่าจะทำให้เกิดอาการแดง) ก็ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและมีการทำลายเซลล์ของผิวหนังเกิดขึ้น แล้ว ดังนั้นในอนาคตอาจต้องมีวิธีที่จะวัดการทำลายผิวหนังของแสงแดดที่ดีกว่า อาการแดง เช่น การดูลักษณะของเซลล์ผิวหนังที่เปลี่ยนไปจากการไหม้แดด (sunburncell) การดูลักษณะของเส้นใยอิลาสตินที่เปลี่ยนรูปร่าง การลดลงของจำนวน Langerhans cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน เพื่อหาประสิทธิภาะของการกันแดด โดยที่ปริมาณของครีมกันแดดที่เป็นมาตรฐานในการหาค่า SPF นั้น ต้องทาครีมกันแดดปริมาณ 2 มิลลิกรัม ต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตร ดังนั้นหากปริมาณแสงแดดที่จะทำให้บริเวณที่ทาครีมกันแดดนั้นเกิดอาการแดง มีปริมาณมากกว่าบริเวณที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด 5 เท่า ครีมกันแดดนั้นก็จะมีค่า SPF 5 ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะแปลว่าปริมาณแสงเป็นเวลาแทน “
สำหรับครีมกันแดดชนิดที่ละลายน้ำได้น้อยนั้น มีชื่อคือ
- Water resistant หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 40 นาที
โดยการใช้ครีมกันแดดตามค่า SPF นี้มักดูตามลักษณะของสีผิวคือ
- ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนยาก ใช้ค่า SPF 20-30 (Ultra high)
- ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวอาจมีสีแทนนิดหน่อย ใช่ค่า SPF 12-20 (Very high)
- ถ้าผิวไหม้แดดปานกลาง และผิวค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแทนใช้ค่า SPF 8-12 (High)
- ถ้าผิวไหม้แดดได้น้อย และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เสมอ ใช่ค่า SPF 4-8 (Moderate)
- ถ้าผิวไหม้แดดยากมาก และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้อย่างมาก ใช้ค่า SPF 2-4 (Minimal)
เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า
- ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
- ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
- ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
- ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
- ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
- ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
- ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
- ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
*** เมื่อดูตามนี้จะเห็นว่า เมื่อใช้ครีมกันแดดค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3% ซึ่งเมื่อเพิ่ม SPF ขึ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นไม่มากนัก และครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงมักมีปัญหาด้านความงามและมีราคาแพง จากมุมมองนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ SPF สูงนัก ***
- แต่ ก็มีปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้และมีผลต่อการออกฤทธิ์ของครีมกันแดด เช่น การทา การสวมใส่เสื้อผ้า การมีเหงื่อออก ลม เหงื่อ การว่ายน้ำ ฯลฯ และมีความจริงที่ว่า ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงนั้น จะมีประสิทธิภาพในการกันแสงแดดในช่วงยูวีเอ โดยเฉพาะยูวีเอ II ที่ดีขึ้น ซึ่งรังสีตัวนี้ทำให้เกิดการเสื่อมของผิวหนังได้มาก นอกจากนั้นการหาค่า SPF จะเป็นการหาค่าในห้องทดลอง ซึ่งเมื่อนำยากันแดด มาใช้ในชีวิตจริงจะพบว่ามีค่า SPF น้อยกว่าที่ระบุเสมอ ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง
- จึงแนะนำว่าควรใช้ยากันแดดค่า SPF สูง (15 ขึ้นไป) ในกรณีที่ต้องตากแดด เป็นเวลานานติดต่อกันและใช้ค่า SPF ต่ำ ในกรณีที่โดนแดดเป็นครั้งคราวระหว่างวันครับ สำหรับข้อมูลนี้ส่วนหนึ่งมาจากการประชุมของสมาคมศิษย์เก่าสถาบันโรคผิวหนัง โดยมีอาจารย์จิโรจ สินธวานนท์ เป็นผู้บรรยาย
ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า
- การใช้ค่า MED นี้ อาจไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพภายในการป้องกันผิวหนัง จากการทำลายของแสงแดด นั่นคือครีมกันแดดถึงจะป้องกันไม่ให้ผิวหนังแดงได้ แต่ก็ยังอาจเกิดการเสื่อมของผิวหนังขึ้นแล้ว
- ปริมาณของการใช้ครีมกันแดดในการหาค่ามาตรฐาน คือ ต้องทาครีมกันแดด 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรนั้น นับว่ามากกว่าปริมาณการใช้ในชีวิตจริง คนปกติจะทาครีมกันแดดแค่ 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ หากทาครีมกันแดดมากไปจะเกิดปัญหาด้านความมันและความสวยงาม
ผลข้างเคียงของครีมกันแดด
- ผล ข้างเคียงที่พบบ่อย คืออาการระคายเคือง จากสารกันแดด ครีมกันแดดที่ยิ่งมีส่วนผสมของสารกันแดดชนิด organic มาก ยิ่งจะเกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องทาครีมกันแดด บริเวณที่มีผื่นควรเลือกใช้สารกันแดดชนิด inorganic ส่วนอาการแพ้ชนิด allergic contact dermatitis หรือ photoallergic contact dermatitis พบได้น้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่ใช้ นอกจากสารกันแดดแล้ว อาจแพ้สารกันบูด น้ำหอม หรือส่วนผสมอื่น ของครีมกันแดดได้ ดังนั้น การเลือกครีมกันแดด จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย
- สำหรับ ผู้ที่ไม่แน่ใจว่าแพ้เครื่องสำอางหรือไม่ สามารถลองทดสอบด้วยตนเองก่อนอย่างง่าย ๆ ด้วยวิธี Open Test โดยการทาผลิตภัณฑ์ที่ท้องแขนทุกเช้าเย็นหลังอาบน้ำ หากเกิดผื่นขึ้นภายใน 7 – 10 วัน แสดงว่ามีโอกาสแพ้ได้ ไม่ควรใช้เครื่องสำอางนั้นๆ
______________________________________________________________
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/endoderm/311
http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=2352
http://www.oryor.com/oryor/admin/module/fda_info/file/f_31_1171706509.pdf
http://www.newunewlook.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=291828&Ntype=1
ใส่ความเห็น